น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater)
|
น้ำเสีย หมายถึงน้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ และน่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์อีกต่อไป หรือถ้าปล่อยลงสู่ลำน้ำธรรมชาติก็จะทำให้คุณภาพน้ำของธรรมชาติเสียหายได้
น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) หมายถึง น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน และกิจกรรมที่เป็นอาชีพ ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายภายในครัวเรือน และอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
ปริมาณน้ำเสีย ที่ปล่อยทิ้งจากบ้านเรือน อาคาร จะมีค่าประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ หรืออาจประเมินได้จากจำนวนประชากรหรือพื้นที่อาคาร ดังแสดงในตาราง
|
|
อัตราการเกิดน้ำเสียต่อคนต่อวัน |
|
|
ภาค |
อัตราการเกิดน้ำเสีย (ลิตร/คน-วัน) |
2536 |
2540 |
2545 |
2550 |
2555 |
2560 |
กลาง |
160-214 |
165-242 |
170-288 |
176-342 |
183-406 |
189-482 |
เหนือ |
183 |
200 |
225 |
252 |
282 |
316 |
ตะวันออกเฉียงเหนือ |
200-253 |
216-263 |
239-277 |
264-291 |
291-306 |
318-322 |
ใต้ |
171 |
195 |
204 |
226 |
249 |
275 |
|
ที่มา : โครงการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดการน้ำเสียชุมชน, สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม 2538
|
ปริมาณน้ำเสียจากอาคารประเภทต่าง ๆ |
|
|
ประเภทอาคาร |
หน่วย |
ลิตร/วัน-หน่วย |
อาคารชุด/บ้านพัก |
ยูนิต |
500 |
โรงแรม |
ห้อง |
1,000 |
หอพัก |
ห้อง |
80 |
สถานบริการ |
ห้อง |
400 |
หมู่บ้านจัดสรร |
คน |
180 |
โรงพยาบาล |
เตียง |
800 |
ภัตตาคาร |
ตารางเมตร |
25 |
ตลาด |
ตารางเมตร |
70 |
ห้างสรรพสินค้า |
ตารางเมตร |
5.0 |
สำนักงาน |
ตารางเมตร |
3.0 |
|
ที่มา : ข้อพิจารณาเกี่ยวกับปริมาณและลักษณะน้ำทิ้งชุมชนในประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุม สวสท'36, สมาคมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 2536
ลักษณะน้ำเสีย
เกิดจากบ้านพักอาศัยประกอบไปด้วยน้ำเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เช่น เศษข้าว ก๋วยเตี๋ยว น้ำแกง เศษใบตอง พืชผัก ชิ้นเนื้อ เป็นต้น ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำให้ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) ลดลงเกิดสภาพเน่าเหม็นได้ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำนิยมวัดด้วยค่าบีโอดี (BOD) เมื่อค่าบีโอดีในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก และสภาพเน่าเหม็นจะเกิดขึ้นได้ง่าย
2. สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อาจไม่ทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น แต่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คลอไรด์, ซัลเฟอร์ เป็นต้น
3. โลหะหนักและสารพิษ อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์และสามารถสะสมอยู่ในวงจรอาหาร เกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ปรอท โครเมียม ทองแดง ปกติจะอยู่ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ปนมากับน้ำทิ้งจากการเกษตร สำหรับในเขตชุมชนอาจมีสารมลพิษนี้มาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนบางประเภท เช่น ร้านชุบโลหะ อู่ซ่อมรถ และน้ำเสียจากโรงพยาบาล เป็นต้น
4. น้ำมันและสารลอยน้ำต่าง ๆ เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสง และกีดขวางการกระจายของออกซิเจนจากอากาศลงสู่น้ำ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดสภาพไม่น่าดู
5. ของแข็ง เมื่อจมตัวสู่ก้นลำน้ำ ทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนที่ท้องน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน มีความขุ่นสูง มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของสัตว์น้ำ
6. สารก่อให้เกิดฟอง/สารซักฟอก ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ ฟองจะกีดกันการกระจายของออกซิเจนในอากาศสู่น้ำ และอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
7. จุลินทรีย์ น้ำเสียจากโรงฟอกหนัง โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอาหารกระป๋อง จะมีจุลินทรีย์เป็นจำนวนมากจุลินทรีย์เหล่านี้ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิตสามารถลดระดับของออกซิเจนละลายน้ำ ทำให้เกิดสภาพเน่าเหม็น นอกจากนี้จุลินทรีย์บางชนิดอาจเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชน เช่น จุลินทรีย์ในน้ำเสียจากโรงพยาบาล
8. ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เมื่อมีปริมาณสูงจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของสาหร่าย (Algae Bloom) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงต่ำมากในช่วงกลางคืน อีกทั้งยังทำให้เกิดวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาแก่การสัญจรทางน้ำ
9. กลิ่น เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน หรือกลิ่นอื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานทำปลาป่น โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น
|
|
|
พารามิเตอร์ |
หน่วย |
ความเข้มข้น |
น้อย |
ปานกลาง |
มาก |
1.ของแข็งทั้งหมด (Total Solids) |
มก./ล. |
350 |
720 |
1200 |
ของแข็งละลายน้ำ (Dissolved Solids) |
มก./ล. |
250 |
500 |
850 |
ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids) |
มก./ล. |
100 |
220 |
350 |
2.ปริมาณตะกอนหนัก (Settleable Solids) |
มล./ล |
5 |
10 |
20 |
3.ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand;BOD) |
มก./ล. |
110 |
220 |
400 |
4.ค่าซิโอดี (chemical Oxygen Demand;COD) |
มก./ล. |
250 |
500 |
1000 |
5.ไนโตรเจนทั้งหมด (Total as N) |
มก./ล. |
20 |
40 |
85 |
อินทรีย์ไนโตรเจน (Organic) |
มก./ล. |
8 |
15 |
35 |
แอมโมเนีย (Free ammonia) |
มก./ล. |
12 |
25 |
50 |
ไนโตรท์ (Nitrites) |
มก./ล. |
0 |
0 |
0 |
ไนเตรท (Nitrate) |
มก./ล. |
0 |
0 |
0 |
6.ฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total as P) |
มก./ล. |
4 |
8 |
15 |
สารอินทรีย์ (Organic) |
มก./ล. |
1 |
3 |
5 |
สารอนินทรีย์ (Inorganic) |
มก./ล. |
3 |
5 |
10 |
7. คลอไรด์ (Chloride)(1) |
มก./ล. |
30 |
50 |
100 |
8.ซัลเฟต (Sulfate)(1) |
มก./ล. |
20 |
30 |
50 |
9.สภาพด่าง (Alkalinity as CaCO3) |
มก./ล. |
50 |
100 |
200 |
10.ไขมัน (Grease) |
มก./ล. |
50 |
100 |
150 |
11.Total Coliform |
MPN/100ml |
106-107 |
107-108 |
107-109 |
|
หมายเหตุ :(1) เป็นค่าที่เพิ่มจากค่าที่ตรวจพบในน้ำใช้ปกติ
ที่มา : Wastewater Engineering, Metcalf&Eddy 1991
|
ตัวอย่างลักษณะน้ำเสียจากบ้านพักอาศัย |
|
|
พารามิเตอร์ |
น้ำเสียจากส้อม |
จากห้องอาบน้ำ |
จากการซักผัก |
จากครัว |
ตักอาบ |
ฝักบัว |
ด้วยมือ |
ด้วยเครื่อง |
ผ่านตะแกรง |
ไม่ผ่าน |
pH |
7.7 |
7.1 |
7.0 |
7.2 |
7.7 |
7.2 |
6.3 |
COD (mg/l) |
1,500 |
230 |
400 |
200 |
560 |
960 |
2,900 |
BOD (mg/l) |
700 |
120 |
260 |
70 |
150 |
540 |
1,800 |
TKN (mg/l) |
300 |
8 |
38 |
14 |
12 |
18 |
120 |
PO4 (mg/l) |
24 |
6 |
1 |
10 |
24 |
13 |
90 |
SS (mg/l) |
560 |
45 |
80 |
60 |
55 |
210 |
1,200 |
FOG (mg/l) |
540 |
400 |
480 |
500 |
520 |
500 |
2,700 |
|
ที่มา :น้ำเสียชุมชนและปัญหามลภาวะทางน้ำในเขต กทม. และปริมณฑล, ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และคณะสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2530
ผลกระทบของน้ำเสียชุมชนต่อสุขภาพอนามัย
โดยทั่วไปเชื้อโรคที่พบในน้ำเสียที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์ได้ มี 4 ชนิด คือ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และพยาธิ โดยมีสาเหตุมาจากอุจจาระของมนุษย์ปนมากับน้ำเสีย โรคติดเชื้อจากสิ่งขับถ่ายสามารถติดต่อสู่คน มี 2 วิธี คือ เกิดจากเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งขับถ่ายของบุคคลหนึ่งแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้วเข้าสู่บุคคลอื่น และเกิดจากเชื้อโรคจากสิ่งขับถ่ายเข้าทางปาก โดยที่สัตว์พาหนะ เช่น หนูหรือแมลงต่าง ๆ ที่อาศัยสิ่งขับถ่ายในการขยายพันธุ์ จะรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยเชื้ออาจอยู่ในตัว ลำไส้ หรือในเลือดของสัตว์พาหนะนั้น โดยที่คนจะได้รับเชื้อผ่านสัตว์เหล่านั้นอีกทีหนึ่ง ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จำแนกเชื้อโรคตามลักษณะการติดเชื้อออกเป็น 6 ประเภท
ประเภทที่ 1การติดเชื้อไวรัสและโปรโตซัว สามารถทำให้เกิดโรคได้แม้ว่าจะได้รับเชื้อเพียงเล็กน้อย และสามารถติดต่อได้ง่าย ซึ่งการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันด้วย
ประเภทที่ 2 การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะต้องได้รับเชื้อในปริมาณที่มากพอจึงจะทำให้เกิดโรคได้ แต่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้ยาก เชื้อนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในที่ที่เหมาะสม ซึ่งการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันด้วย
ประเภทที่ 3เชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดโรคได้ทั้งในระยะแฝงและระยะฝังตัว ได้แก่ ไข่พยาธิ ซึ่งไม่สามารถติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้โดยตรง แต่ต้องการสถานที่และสภาวะที่เหมาะสมเพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวพยาธิและเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เช่น การกำจัดสิ่งขับถ่ายที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงเป็นการป้องกันมิให้มีสิ่งขับถ่ายปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
ประเภทที่ 4 พยาธิตัวตืดอาศัยอยู่ในลำไส้คน ไข่พยาธิจะปนออกมากับอุจจาระ ถ้าการกำจัดสิ่งขับถ่ายไม่เหมาะสม ก็จะทำให้สัตว์จำพวกโค กระบือ และสุกร ได้รับไข่พยาธิจากการกินหญ้าที่มีไข่พยาธิเข้าไป ซึ่งไข่พยาธินี้เมื่อเข้าไปในร่างกายสัตว์แล้วจะกลายเป็นซีสต์ (Cyst) และฝังตัวอยู่ตามกล้ามเนื้อ คนจะได้รับพยาธิโดยการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ ๆ ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เช่น การกำจัดสิ่งขับถ่ายที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงเป็นการป้องกันมิให้มีสิ่งขับถ่ายปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
ประเภทที่ 5 พยาธิที่มีบางระยะของวงชีวิตอยู่ในน้ำ โดยพยาธิเหล่านี้จะมีระยะติดต่อตอนที่อาศัยอยู่ในน้ำ โดยจะเข้าสู่ร่างกายคนโดยการไชเข้าทางผิวหนังหรือรับประทานสัตว์น้ำที่ไม่ได้ทำให้สุก ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี จึงเป็นการป้องกันมิให้พยาธิเหล่านี้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
ประเภทที่ 6 การติดเชื้อโดยมีแมลงเป็นพาหะ แมลงที่เป็นพาหะที่สำคัญ ได้แก่ ยุง แมลงวัน โดยยุงพวก Culex pipines จะสามารถสืบพันธุ์ได้น้ำเสีย โดยเชื้อจะติดไปกับตัวแมลง เมื่อสัมผัสอาหารเชื้อก็จะปนเปื้อนกับอาหาร ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี จึงเป็นการป้องกันพาหนะเหล่านี้
ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค คือ จะต้องจัดระบบสุขาภิบาลตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับชุมชนให้ถูกต้องเหมาะและควรมีระบบการจัดการและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่สามารถกำจัดเชื้อโรคในน้ำทิ้งได้ก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม
สมมูลประชากร
คือ ค่าความสกปรกหรือมลสารในรูปสารอินทรีย์ที่วัดได้โดยหน่วยวัดบีโอดี อันเกิดจากการดำเนินชีวิตของคน ๆ หนึ่ง และสามารถหาได้จากสูตร
สมมูลประชากร (สป.) = บีโอดีในน้ำเสีย (กรัม/ลิตร) x ปริมาณน้ำเสียที่คน ๆ หนึ่งผลิตออกมาต่อวัน (ลิตร/คน/วัน) = บีโอดี เป็น กรัม/คน-วัน
|
ค่าสมมูลประชากรแบ่งตามภาคต่าง |
|
|
ภาค |
ค่าสมมูลประชากร (กรัม บีโอดี/คน-วัน) |
2540 |
2545 |
2550 |
2555 |
2560 |
กลาง |
30 |
34 |
36 |
38 |
40 |
เหนือ |
30 |
34 |
36 |
38 |
40 |
ตะวันออกเฉียงเหนือ |
35 |
40 |
43 |
47 |
50 |
ใต้ |
35 |
38 |
42 |
46 |
50 |
|
ที่มา : โครงการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดการน้ำเสียชุมชน, สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม 2538
|
ลักษณะของน้ำเสียจากอาคารประเภทต่างๆ |
|
|
ลักษณะ |
หอพัก |
ภัตตาคาร |
โรงพยาบาล |
ตลาดสด |
อาหารสำนักงาน |
สถานบริการ อาบ อบ นวด* |
ห้างสรรพ สินค้า |
โรงภาพยนตร์ |
โรงแรม |
อาคารชุด (คอนโด มิเนียม) |
จากส้วม |
จากส่วนอื่นๆ |
จากส้วมบำบัดแล้ว+ครัวและอื่นๆ |
จากครัว+อื่นๆ |
จากส้วม |
จากครัวอื่นๆ |
pH |
8.55 |
7.78 |
6.54 |
6.74 |
6.84 |
6.67 |
8.10 |
7.4 |
6.6 |
7.51 |
7.53 |
7.05 |
7.20 |
COD(mg/l) |
1,290 |
135 |
1,785 |
3,164 |
350 |
2,528 |
392 |
96 |
117 |
253 |
110 |
311 |
221 |
BOD(mg/l) |
723 |
75 |
919 |
1,759 |
238 |
1,172 |
181 |
41 |
55 |
81 |
60 |
190 |
151 |
TKN(mg/l) |
329 |
19.2 |
55.1 |
63.2 |
15.2 |
76.5 |
44.1 |
9.7 |
14.1 |
66.8 |
72.7 |
23 |
33.7 |
PO4 (mg/l) |
6.8 |
3.9 |
3.2 |
2.6 |
3.29 |
5.1 |
2.0 |
0.4 |
14.7 |
10.1 |
2.7 |
1.8 |
2.0 |
SS (mg/l) |
666 |
29 |
401 |
913 |
87.06 |
662 |
158 |
26 |
17.1 |
61 |
45 |
84 |
63 |
FOG(mg/l) |
377 |
411 |
1,136 |
1,570 |
631 |
897 |
455 |
527 |
452.86 |
577 |
219 |
563 |
473 |
|
* บำบัดมาแล้วบางส่วน
ที่มา : น้ำเสียชุมชนและปัญหามลภาวะทางน้ำในเขต กทม. และปริมณฑล, ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และคณะ, สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2530
1. พีเอช (pH) เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเสีย โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์ในถังบำบัดจะดำรงชีพได้ดีในสภาะเป็นกลาง คือ pH ประมาณ 6-8
2. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถ้าค่าบีโอดีสูงแสดงว่าความต้องการออกซิเจนสูง นั่นคือมีความสกปรกหรือสารอินทรีย์ในน้ำมาก
3. ปริมาณของแข็ง (Solids)< หมายถึงปริมาณสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ทั้งในลักษณะที่ไม่ละลายน้ำและที่ละลายน้ำ (Dissolved Solids) ของแข็งบางชนิดมีน้ำหนักเบาและแขวนลอยอยู่ในน้ำ (Suspended Solids) บางชนิดหนักและจมตัวลงเบื้องล่าง (Settleable Solids) ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำนี้อาจสร้างปัญหาในการอุดตันเครื่องเติมอากาศ และถ้าปล่อยทิ้งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความสกปรกและตื้นเขินในลำน้ำธรรมใชาติ ตลอดจนบดบังแสงแดดที่ส่องลงสู่ท้องน้ำ
4. ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุจำเป็นในการสร้างเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต ไนโตรเจนจะเปลี่ยนสภาพเป็นแอมโมเนีย ถ้าหากในน้ำมีออกซิเจนพอเพียงก็จะถูกย่อยสลายไปเป็นไนไทรต์และไนเตรท ดังนั้นการปล่อยน้ำเสียที่มีสารประกอบไนโตรเจนสูงจึงทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในลำน้ำลดน้อยลง
5. ไขมันและน้ำมัน Fat, Oil, and Grease) ส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ที่ใช้ในการทำอาหาร สบู่จากการอาบน้ำ ฟองสารซักฟอกจากการชำระล้าง สารเหล่านี้มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำ ทำให้เกิดสภาพไม่น่าดูและขวางกั้นการซึมของอกอซิเจนจากอากาศสู่แหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีค่าบีโอดีสูงเพราะเป็นสารอินทรีย์
6. ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) คือค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีการทางเคมี มักใช้เทียบหาค่าบีโอดีโดยคร่าวๆ ปกติ COD:BOD ของน้ำเสียชุมชนประมาณ 2-4 เท่า
|