ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากอาคาร
ReadyPlanet.com
dot
dot
เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม
dot
KEEEN ชีวบำบัดภัณฑ์เชิงนิเวศ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน... ความสุขก็ยั่งยืน... - เทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยโดย ไบโอเทค สวทช.
นวัตกรรมเพื่อสุขภาพบุคลากร ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
dot
Newsletter รับข่าวสาร ความรู้ ข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

dot
dot
ค้นหาสินค้าและบริการ รวมทั้งข้อมูล ผลิตภัณฑ์ บทความ ความรู้ต่างๆ เพื่อสิ่งแวดล้อม

dot
dot
ข้อมูลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จากกรมควบคุมมลพิษ
dot
dot
น้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
dot


KEEEN ชีวบำบัดภัณฑ์คืออะไร

KEEEN งานวิจัยและการใช้งาน

KEEEN คว้า 3 รางวัลนวัตกรรม ITEX'12

KEEEN รายการ Smart Biz ช่อง5

จุลินทรีย์ กับ น้ำเสีย

1A 3R Safe Earth สินค้า ผลิตภัณฑ์ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม



ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากอาคาร

 ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง/น้ำเสียจากอาคาร
ตามประเภทและขนาดของอาคาร
(ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)

ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
ดัชนีคุณภาพน้ำ หน่วย เกณฑ์กำหนดสูงสุดตามประเภทมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง วิธีวิเคราะห์
1. ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) - 5-9 5-9 5-9 5-9 5-9 ใช้เครื่องวัดความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter)
2. บีโอดี (BOD) มก./ล. ไม่เกิน20 ไม่เกิน30 ไม่เกิน40 ไม่เกิน50 ไม่เกิน200 ใช้วิธีการ Azide Modification ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 5 วัน ติดต่อกัน หรือวิธีการอื่นที่คณะกรรมการควบคุม
มลพิษให้ความเห็นชอบ
3.ปริมาณของแข็ง
- ค่าสารแขวนลอย (Suspended Soilds)
มก./ล. ไม่เกิน30 ไม่เกิน40 ไม่เกิน50 ไม่เกิน50 ไม่เกิน60 กรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fibre Filter Disc)
- ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids) มล./ล. ไม่เกิน0.5 ไม่เกิน0.5 ไม่เกิน0.5 ไม่เกิน0.5 - วิธีการกรวยอิมฮอฟ์ (Imhoff cone) ขนาดบรรจุ 1,000 ลบ.ซม ในเวลา 1 ชั่วโมง
- ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solid) มก./ล. ไม่เกิน500* ไม่เกิน500* ไม่เกิน500* ไม่เกิน500* - ระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103-105 องศาเซลเซียส ในเวลา 1 ชั่วโมง
4. ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) มก./ล. ไม่เกิน1.0 ไม่เกิน1.0 ไม่เกิน3.0 - ไม่เกิน4.0 - วิธีการไตเตรต (Titrate)
5. ไนโตรเจน (Nitrogen) ในรูป ที เค เอ็น (TKN) มก./ล. ไม่เกิน35 ไม่เกิน35 ไม่เกิน40 ไม่เกิน40 - วิธีการเจลดาห์ล (kjeldahl)
6. น้ำมันและไขมัน (Fat , Oil and Grease) มก./ล. ไม่เกิน20 ไม่เกิน20 ไม่เกิน20 ไม่เกิน20 ไม่เกิน100 วิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน

หมายเหตุ : 1. วิธีการตรวจสอบลักษณะน้ำทิ้งจากอาคารเป็นไปตามวิธีการมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียใน Standard Methods for Examination of Water and Wastewater ซึ่ง APHA : American Public Health Association, AWWA : American Water Works Association และ WPCF : Water Pollution Control Federation ร่วมกันกำหนดไว้ 
*=เป็นค่าที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำตามปกติ 
2. ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภท และบางขนาด ลงวันที่ 10 มกราคม 2537 ยกเลิก ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรฯ (ก/)
3. ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และ ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 10 มกราคม 2537 ยกเลิก ตามประกาศ
กระทรวงทรัพยากรฯ (ข/)
แหล่งที่มา : ก/ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 122 ตอนที่ 125ง 
วันที่ 29 ธันวาคม 2548 
ข/ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 122 ตอนที่ 125ง วันที่ 29 ธันวาคม 2548
 

 

การแบ่งประเภทของอาคาร 
แบ่งประเภทของอาคารออกเป็น 5 ประเภท คือ
  1. อาคารประเภท ก. หมายความถึง อาคารดังต่อไปนี้
    1. อาคารชุดที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 500 ห้องนอนขึ้นไป
    2. โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 200 ห้องขึ้นไป
    3. โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่มีเตียงสำหรับรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป
    4. อาคารโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป
    5. อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือของเอกชนที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 55,000 ตารางเมตรขึ้นไป
    6. อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป
    7. ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป
    8. ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่ให้บริการรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป

  2. อาคารประเภท ข. หมายความถึงอาคารดังต่อไปนี้
    1. อาคารชุดที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 100 ห้องนอน แต่ ไม่ถึง 500 ห้องนอน
    2. โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักอาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 60 ห้อง แต่ไม่ถึง 200 ห้อง
    3. หอพักที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 250 ห้องขึ้นไป
    4. สถานบริการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
    5. โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวม กันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 10 เตียง แต่ไม่ถึง 30 เตียง
    6. อาคารโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ ที่มีพื้นที่ ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร
    7. อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือของเอกชนที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของ อาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 55,000 ตารางเมตร
    8. อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร
    9. ตลาดที่มีพื้นที่ที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 1,500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 2,500 ตารางเมตร
    10. ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่ให้บริการรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 2,500 ตารางเมตร

  3. อาคารประเภท ค. หมายความถึงอาคารดังต่อไปนี้
    1. อาคารชุดที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคาร ไม่ถึง 100 ห้องนอน
    2. โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มอาคาร ไม่ถึง 60 ห้อง
    3. หอพักที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 50 ห้อง แต่ไม่ถึง 250 ห้อง
    4. สถานบริการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 5,000 ตารางเมตร
    5. อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือของเอกชนที่มีพื้นทีใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 10,000 ตารางเมตร
    6. ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 1,500 ตารางเมตร
    7. ภัตตาคารหรือร้านอาคารที่มีพื้นทีให้บริการรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 250 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 500 ตารางเมตร

  4. อาคารประเภท ง. หมายความถึงอาคารดังต่อไปนี้
    1. หอพักที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 10 ห้อง แต่ไม่ถึง 50 ห้อง
    2. ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 1,000 ตารางเมตร
    3. ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่ให้บริการรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 250 ตารางเมตร

  5. อาคารประเภท จ. หมายความถึงภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่ให้บริการรวมกันทุกชั้นไม่ถึง 100 ตารางเมตร
แหล่งที่มา: ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภท และบางขนาด ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนพิเศษ 9ง ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537
 
สรุปประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสีย
ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม
ประเภทอาคาร ขนาดของอาคารที่กำหนดมาตรฐานการระบายน้ำทิ้ง
1.อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ตั้งแต่
500 ห้องนอน
100 -ไม่ถึง 500 ห้องนอน ไม่ถึง-100 ห้องนอน - -
2.โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ตั้งแต่
200 ห้อง
60 - ไม่ถึง
200 ห้อง
ไม่ถึง 60 ห้อง - -
3.หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก - ตั้งแต่ 250 ห้อง 50- ไม่ถึง 250 ห้อง 10 - ไม่ถึง 50 ห้อง -
4. สถานบริการ - ตั้งแต่ 5,000 ม.2 1,000 - ไม่ถึง
5,000 ม.2
- -
5.โรงพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลตามกฎหมาย ตั้งแต่
30 เตียง
10 - ไม่ถึง
30 เตียง
- - -
6.อาคารโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนของทางราชการ
สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ
ตั้งแต่
25,000 ม.2
5,000-ไม่เกินกว่า
25,000 ม.2
- - -
7. อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ
องค์การระหว่างประเทศหรือเอกชน
ตั้งแต่
55,000 ม.2
10,000-ไม่ถึง
55,000 ม.2
5,000-ไม่ถึง
10,000 ม.2
- -
8.อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า ตั้งแต่
25,000 ม.2
5,000-ไม่ถึง
25,000 ม.2
- - -
9. ตลาด เกินกว่าหรือ
เท่ากับ2,500 ม.2
1,500-ไม่ถึง
2,500 ม.2
1,000-ไม่ถึง
1,500 ม.2
500-ไม่ถึง
1,000 ม.2
-
10.ภัตตาคารและร้านอาหาร เกินกว่าหรือ
เท่ากับ2,500 ม.2
500-ไม่ถึง
2,500 ม.2
250-ไม่ถึง
500 ม.2
100-ไม่ถึง
250 ม.2
ไม่ถึง100 ม.2

หมายเหตุ : การกำหนดประเภทของอาคาร ก ข ค ง ดังตาราง
แหล่งที่มา : ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคาร เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อม ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม111 ตอนพิเศษ 9ง ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537
 

 

คลิ๊ก Download โบว์ชัวร์ ที่นี่ KEEEN Brochure_WT_R1.pdf

ติดต่อสั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ได้ที่

Green & Clean Solution
บริษัท ดูแอนด์บี จำกัด
(ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ)
KEEEN ราคาพิเศษ โทร 088-8471451,081-4327109

 




บทความการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม article
น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) - กรมควบคุมมลพิษ -
มาตรฐานค่าน้ำทิ้ง/น้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง article
หุ่นยนต์ทำความสะอาดคราบน้ำมัน นวัตกรรมใหม่ จาก MIT



Copyright © 2012 All Rights Reserved.

Green&Clean Solution by Do&Be Consulting&Training Co.,Ltd.
กรีนแอนด์คลีนโซลูชั่น
ดำเนินงานโดย บริษัท ดูแอนด์บี จำกัด

สำนักงานใหญ่ : 61 ถ.สมุทรคงคา ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง 21000 
ศูนย์จัดส่ง :  39/91 หมู่บ้านปรีชา(ซ. 6/2) ซอยวัดหนามแดง ถ.ศรีนครินทร์ 
ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ  10540
โทร. 088-8471451, 081-4327109 แฟ็กซ์. 038-611826
อีเมล :
greenandcleansolution@gmail.com
เว็บไซต์ : 
www.greenandcleansolution.com
LINE ID : @greenandclean 

KEEEN Brochure คลิ๊กเลย!!!